ปลูกป่าอย่างยั่งยืน เพื่อมรดกของลูกหลาน
จากพระราชดำรัสของพระบาททสมเด็จพระเจ้ายู่หัว ที่เล็งเห็นความสำคัญของเกษตรกร ในการปลูกป่าให้ได้ประโยชน์หลายอย่างไปพร้อมๆกัน จึงได้มีคำกล่าวของพระองค์ทานที่ว่า “การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ ให้เขาได้ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง
แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทาน
ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วยโดยรับน้ำฝนอย่างเดียว
ประโยชน์อย่างที่ 4 คือสามารถช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ”
จากพระราชดำรัสนี้ จึงทำให้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปลูกป่าตามแนวคิดนี้
และได้มีการส่งเสริมให้เหล่าเกษตรกรนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้กับพื้นที่ของตน ในการปลูกป่า
3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง
อีกทั้งยังได้ทำเป็นศูนย์การเรียนรู้และศึกษาการทำเกษตรแนวนี้ ให้ผู้ที่สนใจได้รับชมและนำไปปรับใช้กับพื้นที่ของตนเองได้ด้วย
เช่นเดียวกันกับศูนย์การเรียนรู้แห่งหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า
ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยภายในศูนย์ มีพื้นที่กว่า 600 ไร่ ซึ่งถือว่ากว้างขวางอย่างมาก จึงไม่จำกัดในการเรียนรู้อย่างแน่นอน มีการทดลองและ มีแปลงสาธิตการเกษตรพืชหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชสมุนไพร ทดลองการฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดิน การผลิตและขยายพันธุ์หญ้าแฝกเพื่อแจกจ่าย
การศึกษารวบรวมอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ตลอดจนการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ตามเศรษฐกิจพอเพียงและมีการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินได้
อย่างยั่งยืน
มีกิจกรรมที่ครอบคลุมทุกรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านพืช ปศุสัตว์ และประมง โดยเน้น กิจกรรมด้านพืช การปลูกป่า 3 อย่าง
ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อเป็นบำนาญให้กับเกษตรกรไทย
ให้มีผลผลิตและรายได้ที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง
ไม่ต้องลำบากในชีวิตเมื่อแก่เฒ่า
อย่างเช่นนายพันมหา ทองบ่อ ได้กล่าวว่า อย่างเช่นป่านี้เริ่มปลูกเมื่อปี
2554 มีต้นไม้หลากหลายชนิด เช่น สักทอง มะฮอกกานี กระถินเทพา ตะเคียน กล้วย ไผ่
ชมพู่ทับทิม ผสมผสานกันอยู่ตามธรรมชาติให้แข่งกันเจริญเติบโตอย่างเต็มที่
ส่วนพืชสมุนไพรนั้นปลูกเป็นผักสวนครัว เช่น ข่า กระชาย พริก มะเขือ ฯลฯ
ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ทุกวัน
และอีกอย่างจะเห็นได้ว่า เกษตรกรที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน
มีอายุที่ยืนยาวและแข็งแรงกันทั้งนั้น
เนื่องจากผลผลิตที่ได้ไม่มีสารพิษที่อันตรายต่อร่างกาย เป็ยของธรรมชาติที่ไม่มีการใส่สารจริงๆ
และความสุขทางใจที่ได้เห็นการเจริญเติบโตของต้นไม้
ทำให้เป็นวิถีชีวิตที่พอเพียง
และสามารถนำผลประโยชน์ของผืนป่าแห่งนี้ส่งต่อรุ่นลุกหลานไปอย่างยาวนานสืบไป